กรมป่าไม้กลาโหม-มหาดไทย-คลัง

เห็นชอบที่ดิน 81,062 ไร่ชาวศรีสวัสดิ์เมืองกาญจน์ได้
มาถูกต้อง
พ.อ พิเศษ ดร.สุรินทร์
แจงรายละเอียดยิบพร้อมเอกสารแผนที่ไม่เกี่ยวพื้นที่ทับซ้อนอุทยาน

จากกรณีการฟ้องร้องกันของนักการเมืองในอดีตกรณีบ้านสามหลัง เขต อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
จนเป็นเหตุบานปลายให้ในเวลาต่อมาที่ดินทำกินของประชาชน ซึ่งได้รับตามกฎหมาย พรฎ 2529 จำนวน 81,062 ไร่ ให้อยู่อาศัยทำมาหากินได้ หลังได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ อ.ศรีสวัสดิ์ พลอยได้รับความเดือดร้อนมาอย่างยาวนานกว่า 40 ปี เพราะ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประกาศ
ขยายแผนที่อุทยาน ทับซ้อนที่ดินดังกล่าว โดยประกาศตาม พรฏ 2524 เป็นเนื้อที่จำนวน 975,500 ไร่ ขยายแผนที่ออกไปด้านทิศตะวันออก รวมแล้วมากกว่า 1 ล้านไร่ และไปทับที่ดินของประชาชนที่ได้รับตาม พรฏ 2529 ทั้งหมด รวมทั้งคดีบ้านสามหลังดังกล่าว และยังเลยไปจนถึงเขต จ.สุพรรณบุรี จ.อุทัยธานี บางส่วน และยังมีประชาชนถูกจับกุมดำเนินคดีมากกว่า 400 ราย ข้อหาบุกรุกที่อุทยานและอื่นๆ ทั้งๆที่ ที่ดินได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย วัดวาอารามหลายแห่งไม่สามารถประกอบพิธีสังฆกรรมได้ เสมือนว่าที่ดินทั้งหมดอยู่ในเขตอุทยาน ทั้งๆที่ ในเวลานั้น กรมอุทยานแห่งชาติฯ ยังไม่ได้มีการสถาปนาจัดตั้งขึ้นมาแต่อย่างใดแต่มาประกาศในภายหลัง

พ.อ.พิเศษดร.สุรินทร์
จันทร์เพียร นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี ในฐานะแกนนำประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนมานานหลายสิบปี กล่าวว่า เรื่องนี้มีที่มาที่ไป โดยโครงการสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า หรือ เขื่อนศรีนครินทร์ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี มีผลกระทบกับประชาชนใน อ.ศรีสวัสดิ์ นั้นต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีความชำนาญและเข้าใจผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่อย่างดีแล้วเพราะได้สร้างมาแล้วหลายเขื่อนในประเทศไทยมีข้อมูลในเชิงพื้นที่ทุกแห่งกับการสร้างเขื่อนที่ผ่านมา เพราะฉะนั้น โครงการสร้างเขื่อนเจ้าเณร ชื่อเดิมเขื่อนศรีนครินทร์ ที่ อ.ศรีสวัสดิ์
ก็เช่นเดียวกัน

พ.อ.พิเศษ ดร.สุรินทร์ กล่าวว่า การวางแผนซึ่งมีข้อหนึ่งที่ได้บันทึกไว้ว่าเตรียมการอพยพราษฎรที่จะต้องถูกน้ำท่วมบ้านเรือนที่อยู่อาศัยและต้องเตรียมค่าใช้จ่ายในการอพยพสร้างบ้านเรือน สร้างถนนหนทางระบบสาธารณูปโภคไว้เรียบร้อยแล้ว และในโครงการนี้ก็ได้กำหนดแผน ตามเอกสารจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเขื่อนศรีนครินทร์
ในโครงการนี้มีกระทรวงที่เกี่ยวข้องอยู่ 4 กระทรวง คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีกรมป่าไม้ ที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องพื้นที่ที่เป็นอุทยาน ป่าสงวน หรือเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีกรมป่าไม้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาจึงมีบทบาทสำคัญกับโครงการนี้และทำงานอย่างใกล้ชิดกับทุกกระทรวง ทบวง กรม ในพื้นที่
นอกจากนั้นยังมีกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง โดย กรมธนารักษ์ และ กระทรวงกลาโหม ซึ่งก็มีพื้นที่ที่ต้องใช้เฉพาะอย่างยิ่งเป็นพื้นที่รองรับการอพยพของประชาชนของทั้งสองหน่วยงาน
ในโครงการนี้เจ้าภาพหลักก็คือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เป็นหน่วยงานหลักงานได้เริ่มเข้มข้นตั้งแต่ปีพ.ศ.2513 ถึง 2521 ซึ่งต้องทำหน้าที่ออกเอกสารมากมายประสานงานกับหน่วยราชการสำคัญที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม เป็นจำนวนมาก โปรดดูเอกสารประกอบ

“เอกสารสำคัญเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการอพยพราษฎรจากบริเวณน้ำท่วมมาร่วมอยู่กับประชาชนในพื้นที่ข้างบนซึ่งอยู่แต่เดิมอยู่แล้ว และอยู่ในพื้นที่ของ พรฎ 2481 และตอนหลังออกกฏหมายให้เป็นที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 ฉะนั้นการดำเนินการในช่วงเวลานั้นบทบาทสำคัญของ ท่านอธิบดีกรมป่าไม้ นายประดิษฐ์ วนาพิทักษ์
ได้ทำหน้าที่และเป็นประธานคณะกรรมการหลายชุดในพื้นที่อพยพราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการจัดพื้นที่การทำแผนที่เตรียมความพร้อมร่วมกับหลายหน่วยงาน เช่น กรมประชาสงเคราะห์ ในการดูแลชาวอำเภอศรีสวัสดิ์ที่ต้องอพยพจากข้างล่างที่ถูกน้ำท่วม ขึ้นไปอยู่ข้างบนทั้งหมด”

“เพราะฉะนั้นกรมป่าไม้ วันนั้นมีบทบาทสำคัญ ในโครงการอพยพราษฎรและกำหนดกฎเกณฑ์ทำแผนที่ตลอดจนร่างแผนที่ร่วมกับกรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหมมากมาย อธิบดีกรมป่าไม้ มีส่วนเป็นกรรมการดำเนินการอยู่ด้วยรวมทั้งเจ้าหน้าที่ ทั้งกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย นายอำเภอศรีสวัสดิ์ เป็นกรรมการอยู่ด้วย ตามเอกสารและคำสั่งต่างๆในการจัดแปลงที่ดินให้กับราษฎรที่อพยพขึ้นมาข้างบนในพื้นที่บ้านดงเสลา สิทธิ์เป็นบริเวณที่รองรับ 1,200 ครอบครัว อธิบดีกรมป่าไม้ ร่วมกับ กรมประชาสงเคราะห์ และกระทรวงกลาโหม เพราะกระทรวงกลาโหมนั้นเป็นผู้ดูแลพื้นที่ประมาณ 3,000,000 ไร่ ตามพระราชกฤษฎีกา 2481 ต้องเป็นผู้ยินยอมและไม่ขัดข้องตามเอกสารและมีการประชุมกับประชาชนที่จะต้องถูกอพยพให้เป็นที่ยอมรับได้กับทุกฝ่าย”

จนสุดท้ายสรุปได้ที่ บ้านองสิทธิ์ ดงเสลา เตาเล่า สำหรับ ชาวบ้าน 1,200 ครอบครัว และ ตกลงออกเป็นมติ ครม. 20 สิงหาคม 2517 ซึ่งสรุป การใช้พื้นที่รองรับผู้อพยพขึ้นมาและเตรียมพื้นที่ไว้เผื่อมากกว่าการทำเกษตรเผื่อไว้เพื่อการขยายตัวของเมืองและเพื่อความคล่องตัวของราชการ”
“ท้ายที่สุดเมื่องานไปถึงตอนสุดท้ายการออก พรฎ ถอนที่ดินจากกระทรวงกลาโหมและราชพัสดุ 81,062 ไร่ คณะกรรมการที่ร่วมกัน ทั้งกระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรฯ กรมที่ดิน กรมป่าไม้ ดำเนินการร่วมกันและส่งไปที่กรมธนารักษ์ จนกระทั่งได้รับพระราชกฤษฎีกา 2529

พ.อ.พิเศษ ดร.สุรินทร์ กล่าวต่ออีกว่า ประชาชนก็ดำรงชีพอยู่อย่างปกติสุขเรื่อยมาจากนั้น ไม่เคยมีคดีเกี่ยวกับเรื่องอุทยานแต่อย่างใด จนกระทั่งปี 2541 มีคดีเรียกว่าบ้าน 3 หลัง มีนักการเมืองขัดแย้งกัน ช่วงเวลานั้น มี เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ มาดำเนินคดีกับชาวบ้านอ้างว่าบุกรุกอุทยานเรื่อยมาจนปัจจุบันมากกว่า 400 คดี
ประชาชนและคณะกรรมการ


ที่เกี่ยวข้องกับโครงการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ นี้จะรู้ว่าแนวเขตกรมอุทยานอยู่ที่ 180 เมตร ระดับน้ำทะเลปานกลาง”
พ.อ.พิเศษ ดร.สุรินทร์ กล่าวทิ้งท้ายว่า จากเอกสารที่แจ้งในวันนี้ชัดเจนว่ามีคณะกรรมการระดับชาติ เช่น รัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม เลขาธิการนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี จนถึงอธิบดีกรมต่างๆข้าราชการ เข้าไปดำเนินการเรื่องจัดการที่ดินและอพยพราษฎรอำเภอศรีสวัสดิ์ รวมทั้งอธิบดีกรมป่าไม้ในขณะนั้นที่มีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นจนจบ จึงเป็นไปไม่ได้ว่า ที่ดินของชาวบ้านจะอยู่ในเขตพื้นที่อุทยาน











/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ภาพ ข่าวโดย
เสือใหญ่กาญจนบุรี
ยอดขุนศึกพญายม 915 รายงาน ติดต่อประสานงาน
รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์
ผ่านสื่อ 082-152-3279
กฎแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////

